1ในคำถามที่มักจะถูกถามเสมอ เมื่อพูดถึงมีดทำครัวญี่ปุ่นคือ "ทำไมถึงมีราคาแพง" ซึ่งคำตอบอาจจะแตกต่างกันไป เช่น แพงเพราะ "ช่างตีมีด" หรือ "เป็นมีดที่ตีด้วยมือ ไม่ได้ทำจากโรงงาน" ซึ่งบางคนอาจจะสงสัยว่า มีดที่ทำมาจากโรงงาน กับ มีดที่ตีด้วยมือ มันมีขั้นตอน หรือกระบวนการต่างกันอย่างไร บทความนี้ จะอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการตีมีด ซึ่งเป็นกระบวนการตีมีดทำครัวญี่ปุ่นด้วยวิธีที่สืบทอดกันมานานมากกว่า 600 ปี เป็นวิธีของ Sakaiuchi ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนกลายเป็นมีดครัวญี่ปุ่นที่พวกเราใช้กันครับ และทางร้านก็มีมีดของช่างตีมีดญี่ปุ่นที่ดังเป็นอันดับต้นๆของประเทศญี่ปุ่น Sakai Takayuki ให้เลือกสรรเช่นกันครับ

การเผาไฟ ขั้นที่ 1
เตรียมแผ่นโลหะที่จะนำมาตีเชื่อมกับเหล็ก
ใช้ถ่านโค้กทำการเพิ่มอุณหภูมิเตาเผาให้ได้สูงสุด 1000องศา
เผาเหล็กที่ให้ร้อนจนแดง และเพื่อจะนำแผ่นเหล็กอีกแผ่นมาประกอบในขั้นตอนต่อไป

การเผาไฟ ขั้นที่ 2 (ประกบแผ่นเหล็ก)
ขั้นตอนนี้เรียกว่า ประกบเดือด ซึ่งเป็นเทคนิคผลิตมีดดั้งเดิมของ Sakaiuchi
นำเหล็กที่เผาจนได้อุณหภูมิมากกว่า 1000องศามาประกบติดกับเหล็กที่มีส่วนผสมของสารบอริก สารบอแรกซ์ หรือไอเอิร์นออกไซด์ หลังจากที่ประกบติดกันแล้ว นำกลับเข้าไปเผาไฟในเตาเผาอีกรอบและตีประกบให้แน่นด้วยค้อน
การเผาไฟขั้นที่ 3
เมื่อแผ่นเหล็กทั้ง2แผ่นประกบติดกันดีแล้ว ก็ใช้เครื่องทุบเพื่อตีให้ได้รูปทรงของมีด
ในขั้นตอนนี้หากมีดมีอุณหภูมิที่สูงเกินไป คาร์บอนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้มีดคมนั้นจะหายไป และมีดก็จะไม่คมเท่าที่ควร
ช่างตีมีดจึงให้ความสำคัญกับการควบคุมอุณหภูมิในระหว่างที่ตีมีดอย่างมาก การตีมีด 1เล่มจึงต้องใช้ความใส่ใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
การเผาไฟขั้นที่ 4
เมื่อตีมีดแล้วทำการพักมีด เพื่อให้สารประกอบต่างๆในมีดที่เพิ่งตีเสร็จคงที่
ในระหว่างที่พักมีดก็ตรวจสอบใบมีดว่ามีรอย หรือเหล็กประกบกันดีรึไม่
หลังจากที่ได้ทำการตีขึ้นรูปใบมีดแล้ว ขั้นตอนนี้จะทำการเอาส่วนเกินออกไป
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความชำนาญในการตัดของช่างอย่างมากซึ่งจะไม่ใช้เครื่องจักรในการตัดเลย
ขั้นตอนนี้เป็นการตีแผ่นเหล็กที่เย็นตัวแล้ว ซึ่งทำให้อนุภาคของเหล็กมีความละเอียดขึ้นช่วยเพิ่มความคมให้กับมีดได้
ในขณะเดียวกันก็เพิ่มลายบน (เพิ่มความโค้ง) ให้กับใบมีดไปด้วย
การชุบแข็ง1 (ชุบโคลน)
การชุบแข็งถือว่าเป็นชีวิตของมีดเลยก็ว่าได้ ก่อนที่จะทำการชุบแข็งต้องนำใบมีดไปชุบโคลนก่อนเพื่อเมื่อนำเข้าไปเผาไฟ อุณหภูมิจะได้เท่ากันทั้งหมด และเมื่อเอาไปแช่ลดอุณหภูมิในน้ำหรือน้ำมันก็จะทำให้เกิดฟองได้น้อยลงทำให้ลดอุณหภูมิได้เร็วกว่าขึ้นมาก
การชุบแข็ง2 (ทำให้เย็น)
หลังจากนำใบมีดชุบโคลนและปล่อยให้เย็นแล้ว นำมาเผาไฟจนได้อุณหภูมิประมาณ 800องศาและทำให้เย็นตัวทันที
การควบคุมอุณหภูมิไม่ใช้เครื่องจักรใดๆ แต่จะใช้ประสบการณ์และทักษะที่ชำนาญของช่างตีมีดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด
ขั้นตอนการชุบแข็งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้สมาธิสูงมาก ส่วนใหญ่จะทำช่วงเย็นตอนที่เริ่มจะมืดแล้ว
การชุบแข็งของ Sakaiuchi ลักษณะเด่นคือจะใช้ถ่านจากไม้มัทสึเพราะจะทำให้อุณหภูมิค่อยๆเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
การชุบแข็งเป็นขั้นตอนที่ทำให้ใบมีดมีความแข็งมากขึ้น แต่ยังไม่มีความเหนียว ซึ่งจะยังไม่สามารถใช้ได้
การทำให้ใบมีดมีความเหนียว โดยนำไปเผาเพิ่มอุณหภูมิประมาณ 200องศาและปล่อยให้มีดค่อยๆเย็นลงเอง
เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้แล้ว ใบมีดก็จะได้ทั้งความแข็งและความเหนียว เกิดเป็นมีดใบมีดที่สมบูรณ์แบบ
มีดที่ได้ทำการชุบแข็งทั้ง 2 ครั้ง จะเข้าสู่กระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายคือการลับคมมีด
แต่ก่อนที่ช่างตีมีดจะส่งมอบใบมีดให้แต่ช่างลับมีด จะเช็คใบมีดว่าบิดเบี้ยวหรือมีรอยอะไรหรือไม่
หากมีดมีความบิดเบี้ยวอยู่ก็จะทำการแก้ไขให้เรียบร้อย
หลังจากที่ได้ส่งมีดต่อให้ช่างลับมีดแล้ว จะทำการลับมีดครั้งแรก
จะใช้แท่นหมุนลับมีดโดยเฉพาะในการลับและตรวจสอบสภาพมีดว่ามีความแข็งแรงรึไม่ ก่อนจะลับมีดในขั้นตอนต่อไป
หลังจากที่ลับมีดในขั้นตอนแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำลับให้มีดบางกว่าเดิมเพื่อทำให้คมมีดหั่นได้จริง
ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความชำนาญของช่างอย่างมาก เพราะหากลับมีดมากเกินไปจะแก้ไขให้เหมือนเดิมไม่ได้
ขัดเงามีด
จะใช้แผ่นขัดเงาแบบที่เป็นเครื่องหมุนเพื่อทำให้ใบมีดนั้นขึ้นเงาสวย
จะขัดโดยจะใช้ค่อยๆเปลี่ยนแผ่นขัดเงาให้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ จนใบมีดนั้นเกิดเงาสวยงาม
ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำเศษของหินที่ใช้ลับคมมีด นำมาขัดกับมีด เรียกว่าการเบลอ (ぼかし) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับใบมีด โดยจะต้องใช้ผงจากเศษหินที่ใช้ลับคมมีดในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อความสวยงามของมีด
ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตีมีดทำครัวญี่ปุ่น เป็นการเก็บรายละเอียดสุดท้ายซึ่งจะเป็นการกำหนดความคมของมีดที่ทำการตีมาอีกด้วยโดยการเจียร์ ซึ่งต้องคำนึงถึงหินลับมีดที่ใช้ในชั้นตอนนี้เช่นกัน เพื่อดึงสมรรถนะสูงสุดของมีดออกมา
การผลิตเสร็จสมบูรณ์
เมื่อการตีเหล็กและการเจียร์เหล็กเสร็จสมบูรณ์ ก็จะทำการติดตั้งด้ามมีด ซึ่งด้ามมีดก็จะมีความแตกต่างกันไปอีก เช่นทำจากไม้หายาก หรือไม้ที่มีตำนานเล่าขานกันมานาน ซึ่งก็จะมีราคาแพงขึ้นไปอีก
เป็นยังไงกันบ้างครับ กว่าจะมาเป็นมีดเล่มนึงที่พวกเราใช้กันทุกวันนี้ มีขั้นตอนละเอียดแค่ไหน นี่เป็นแค่หนึ่งในหลายเหตุผลนะครับ ที่ทำไมมีดทำครัวญี่ปุ่นถึงมีราคาแพง จริงๆแล้วยังมีเหตุผลอื่นๆอีก ซึ่งจะทำการอธิบายต่อในบทความต่อไปครับ
และสำหรับลูกค้าที่สนใจมีดที่ทำการผลิตด้วยวิธีในบทความนี้ สามารถดูได้ ที่นี่ ครับ
ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก Takayuki Japan